๑. การเลือกใช้คำให้ถูกต้องตรงตามความหมายที่ต้องการ ตัวอย่างเช่น
“วิไลเตรียมอาหารกลางวัน เธอตัดผักคะน้าเป็นท่อนยาวๆ หั่นเนื้อหมูเป็นชิ้นๆ แล้ว
บดจนละเอียด แล่เนื้อวัวเป็นแผ่นบางๆ และซอยกระเทียมเป็นชิ้นเล็กๆ”
“ทั่วประเทศเขตแคว้นแดนพริบพรี เหมือนจะชี้ไปไม่พ้นแต่ต้นตาล
ที่พวกทำน้ำโตนดประโยชน์ทรัพย์ มีดสำหรับเหน็บข้างอย่างทหาร
พะองยาวก้าวตีนปีนทะยาน กระบอกตาลแขวนก้นคนละพวง”
(นิราศเมืองเพชร ของ สุนทรภู่)
๓. เลือกใช้คำให้เหมาะสมแก่ลักษณะของคำประพันธ์ คำจำนวนมากใช้ได้ทั้งในร้อยแก้ว และร้อยกรอง แต่คำบางคำใช้เฉพาะแต่ในคำประพันธ์เท่านั้น ตัวอย่างเช่น
“เพรางายวายเสพรส แสนกำสรดอดโอชา
อิ่มทุกข์อิ่มชลนา อิ่มโศกาหน้านองชล”
(กาพย์เห่เรือ ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)
คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกัน คำที่เป็นไวพจน์ของกันนั้น หลายคำไม่อาจใช้แทนกันได้เสมอไป เช่น
“มืดสิ้นแสงเทียนประทีปส่อง ก็ผ่องแสงจันทร์กระจ่างสว่างส่ง
บุปผชาติสาดเกสรขจรลง บุษบงเบิกแบ่งระบัดบาน
เรณูนวลหวนหอมมารวยริน พระพายพัดประทิ่นกลิ่นหวาน
เฉื่อยฉิวปลิวรสสุมามาลย์ ประสานสอดกอดหลับระงับไป”
๕.๑ คำเลียนเสียงธรรมชาติ คำเลียนเสียงธรรมชาติในบทประพันธ์ทำให้ผู้อ่านเห็นภาพชัดเจนและเกิดความรู้สึกคล้อยตาม เช่น
“กลองทองตีครุ่มครึ้ม เดินเรียง
ท้าตะเติงเติงเสียง ครุ่มครื้น
เสียงปี่รี่เรื่อยเพียง การเวก
แตร้นแตร่นแตรฝรั่งขึ้น หวู่หวู้เสียงสังข์”
(กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)
เป็นคำเลียนเสียงกลอง เสียงแตร และเสียงสังข์
๕.๒ คำที่เล่นวรรณยุกต์ เช่น
“ฝูงลิงใหญ่น้อยกระจุ้ย ชะนีอุ่ยอุ้ยร้องหา
ฝูงค่างหว่างพฤกษา ค่างโจนไล่ไขว่ปลายยาง”
(กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)
สำนวน พังเพย สุภาษิต
- กินอยู่กับปาก อยากอยู่กับท้อง -กลืนไม่เข้าคายไม่ออก
- ข้าวยากหมากแพง - ขุดด้วยปาก ถากด้วยตา
- จับดำถลำแดง - เจ้าชู้ไก่แจ้
- ผัวเมียผิดกันอย่าพ้อง พี่น้องผิดกันอย่าพลอย -หูป่าตาเถื่อน
ชื่อเฉพาะ
- มูลบทบรรพกิจ วาหนิติ์กร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ พิศาลการันต์ (ชื่อแบบเรียน 6เล่ม ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร))
- เจริญกรุง บำรุงเมือง เฟื่องนคร
คำขวัญ
- เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ เด็กฉลาดชาติเจริญ
- สะอาดกายเจริญวัย สะอาดใจเจริญสุข
- เมตตาเป็นทุน เกื้อหนุนชุมชน
- มั่นคงด้วยรากฐาน บริการด้วยน้ำใจ
๕.๔ คำที่เล่นเสียงหนักเบา เพื่อให้บทร้อยแก้วหรือบทร้อยกรองฟังไพเราะ กวีมักใช้เสียงหนักเบาและจังหวะอันเกิดจากวิธีอ่าน ทำให้เข้าถึงความหมายที่แท้จริงของกวีบทนั้นๆ
บทร้อยกรองประเภทฉันท์ที่กำหนดเสียงหนักเบาได้แก่ คำครุและคำลหุ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
คำที่พิมพ์ตัวหนาเป็นคำลหุ
อินทรวิเชียรฉันท์ ๑๑
โขดเขินศิขรเขา ณ ลำเนาพนาลัย
สูงลิ่วละลานนั- ยนพ้นประมาณหมาย
ยอดมัวสลัวเมฆ รุจิเรขเรียงราย
เลื่อมเลื่อมศิลาลาย ก็สลับระยับสี
(อิลราชคำฉันท์ ของ พระยาศรีสุนทรโวหาร(ผัน))
“ทันใดนั้นเอง หล่อนก็หยุดเมื่อถึงฝั่งลำธาร บรรดาเงาต่างก็พลอยหยุดไปด้วย นอกจากเงาเดียวซึ่งทาบอยู่หลังเสาไฟในระหว่างหล่อนกับข้าพเจ้า เงานั้นคงเคลื่อนต่อไป ผลุบๆ โผล่ๆ เหมือนลูกมะพร้าวที่ลอยอยู่กลางกระแสน้ำหรือสัตว์เลื้อยคลานที่มุ่งเข้าหาเหยื่อ ใกล้เข้าไปเข้าไปเป็นลำดับ ข้าพเจ้าได้แต่จับตาดูอย่างแทบกลั้นหายใจราวกับถูกมนต์สะกดขยับเขยื้อนเคลื่อนอิริยาบทไม่ได้ไปชั่วขณะหนึ่ง”
(ล่องไพร ของ น้อย อินทนนท์)
ผู้อ่านเป็นจะรู้จักทอดเสียง เน้นเสียงหนัก และผ่อนเสียงเบาที่คำบางคำ ข้อความที่มีลักษณะเป็นพรรณนาโวหารเช่นนี้ ถ้าผู้อ่านใช้ศิลปะของการอ่านช่วยก็จะทำให้ผู้ฟังรู้สึกถึงรสไพเราะของเนื้อความได้ ดังที่นักแสดงวิทยุอ่านนิทาน นิยาย ทางวิทยุกระจายเสียง
๖. เลือกคำโดยคำนึงถึงคำพ้องเสียงและคำซ้ำ เมื่อนำคำพ้องเสียงมาเรียบเรียงหรือร้อยกรองเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดเสียงไพเราะ เพิ่มความพิศวง น่าฟัง หากใช้ในบทพรรณนาหรือบทคร่ำครวญยิ่งทำให้สะเทือนอารมณ์
สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง ยามสาย
สายบ่หยุดเสน่ห์หาย ห่างเศร้า
กี่คืนกี่วันวาย วางเทวษ ราแม่
ถวิลทุกขวบค่ำเช้า หยุดได้ฉันใด
(ลิลิตตะเลงพ่าย ของ สมเด็จมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส)
หัวลิงหมากเรียกไม้ ลางลิง
ลางลิงหูลิงลิง หลอกชู้
ลิงไต่กะไดลิง ลิงห่ม
ลิงโลดฉวยชมผู้ ฉีกคว้าประสาลิง
(กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง ของ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น